มหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 5 |
เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน - 31 ตุลาคม 2553
มหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 5
คุณค่าและความสำคัญ :
มหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ เป็น งานสำคัญที่สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ได้ริเริ่มขึ้นมาและดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เพื่อขับเคลื่อนและสร้างกระแสให้สังคมเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ “การจัดการความรู้ (Knowledge Management - KM)” เป็นเครื่องมือพัฒนาการเรียนรู้ของคนไทยที่ให้คุณค่ากับความรู้ปฏิบัติ (Tacit Knowledge) ที่มีอยู่ในคนทำงานทุกสาขาอาชีพ ผลจากการจัดงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติที่ผ่านมา เป็น ที่ประจักษ์ว่าหลายภาคส่วนในสังคมไทยเกิดความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญ กับการจัดการความรู้ จนเกิดเป็นเครือข่ายความร่วมมือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันขึ้นมากมาย อันถือเป็นก้าวที่สำคัญของการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
สคส. และภาคีเล็งเห็นคุณค่าของพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสังคม จึง ได้กำหนดจัดงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 5 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดพื้นที่ให้คนในสังคมทุกภาคส่วนได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์ และผลสำเร็จของการประยุกต์ใช้การจัดการความรู้ที่เริ่มจากภายในคน (KM Inside) ไปสู่การพัฒนางาน องค์กร และสังคม ของภาคีเครือข่ายที่หลากหลาย ผ่านพื้นที่การเรียนรู้ที่มีชีวิตชีวา สมกับแนวคิดหลัก (Theme) ของงานที่ว่า “KM Inside – Lively Learning Land”
|
Learning Land : ดินแดนแห่งการเรียนรู้
Learning Land ดินแดนแห่งการเรียนรู้ ถือเป็นรูปแบบใหม่ในการจัดงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งนี้ โดยได้แบ่งพื้นที่การเรียนรู้ออกเป็น 9 โซน ดังแผนที่ข้างล่างนี้
|

|
แต่ละโซนมีจุดเน้นในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไป ดังคำอธิบายต่อไปนี้
- หาดฝึกกระบวนท่า : เป็น พื้นที่ที่ชนเผ่าต่างๆ รวมทั้งคนต่างถิ่นเข้ามาใช้ฝึกทักษะการเรียนรู้จาก พี่เลี้ยงผู้มากด้วย ประสบการณ์ ทักษะที่สำคัญ ได้แก่ การเปิดใจรับฟัง การฝึกให้เข้าใจตนเองและผู้อื่น ตลอดจนการฝึกทบทวนการเรียนรู้ เป็นต้น
- ทะเล Tacit : สำหรับ ผู้ที่อยู่ใน Learning Land แล้ว “Tacit Knowledge หรือ ความรู้ปฏิบัติ” ถือเป็นสิ่งที่ล้ำค่ามากเพราะนอกจากจะทำให้การทำงานต่างๆ สำเร็จได้ง่าย ขึ้น ยังสามารถสร้างนวัตกรรมได้อย่างต่อเนื่อง การค้นหา Tacit Knowledge อาจไม่ใช่เรื่องง่าย และถ้าไม่ระวังอาจจะสับสนกับ “Explicit Knowledge หรือ ความรู้ชัดแจ้ง” ดัง นั้นบริเวณทะเล Tacit จึงเป็นแหล่งฝึกฝนและค้นหาการถ่ายทอดและดักจับ Tacit Knowledge ผ่านการทดลองปฏิบัติจริงตามฐานการเรียนรู้ต่างๆ
- ชนเผ่าจับเข่าคุย /OM: พวกเขากำลังทำอะไรกัน ทำไมพวกเขาจึงมีชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืน ผ่านมาหลายยุคหลายสมัย ใครที่ต้องการจะรู้ว่าพวกเขาใช้เทคนิคอะไร ขอให้รีบแวะมาพูดคุยกับพวกเขา
- เทือกเขาปันปัน : พื้นที่ที่จะทำให้ท่านเข้าใจถึงประโยชน์อันยิ่งใหญ่จาก “การให้” โดยเรียนรู้จากกรณีศึกษามากมาย ที่จะทำให้ท่านกระจ่างว่าทำไม “ยิ่งให้ ยิ่งได้รับ”
- สะพานเชื่อมใจ : การขับเคลื่อน KM จะสำเร็จได้ ก็ต้องอาศัยผู้ที่ทำหน้าที่ “เชื่อมประสาน” การเป็นผู้เชื่อมประสานไม่ใช่งานที่ใครๆ ก็ทำได้ หากท่านอยากรู้เทคนิคดีๆ ของผู้ที่รับบทบาทเชื่อมประสาน อย่าลืมมาขึ้นสะพานนี้
- ศาลาศิราณี : สถานที่นัดพบของกูรู (Guru) และ ผู้ที่ฝักใฝ่สนใจในเรื่อง KM ท่านที่มีปัญหาคาใจไม่ว่าจะเป็นปัญหาเล็ก หรือปัญหาใหญ่ สามารถมาเปิดใจกันได้ในศาลานี้
- เกาะสุขสันต์ : เป็น พื้นที่ที่แสดงให้เห็นว่าบรรยากาศการทำงานที่มีชีวิตชีวานั้นเป็นอย่าง ไร สิ่งนี้มิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นมาตามยถากรรม หากแต่เป็นสิ่งที่ต้องทำต้อง สร้าง ต้องมีการวางกลยุทธ์ และมีการนำกระบวนการ KM ไปใช้อย่างมีลีลา
- ประภาคารเกื้อกูล : การ งานใดๆ ย่อมต้องมีการตั้งเป้าหมาย เปรียบได้กับการออกเรือที่ต้องรู้ทิศทา’ การ สาละวนอยู่กับงานประจำบ่อยครั้งอาจทำให้ท่านลืมมองเป้าหมาย ประภาคาร จะทำหน้าส่องแสงมาไกลๆ ให้รู้ว่าเป้าหมายปลายทางของเราอยู่ไหน ใน โซนนี้ผู้ที่เป็น “คุณเอื้อ (Chief Knowledge Officer)” จะมาเผยเทคนิคการนำที่ทำให้คนทำงานใช้ศักยภาพของตัวเองอย่างเต็ม ที่จนสามารถ ไปสู่เป้าหมายได้
- บึงบูรณาการ : การ เชื่อมโยงเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารเข้าด้วยกันโดยไม่ทำให้เป็นภาระต่อ ผู้ปฏิบัติงาน ถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่บึงบูรณาการนี้ท่านจะได้พบกับตัวอย่างดีๆ จากผู้ที่ มีประสบการณ์ตรงในเรื่องนี้
|
|