สรุปสาระสำคัญ การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง โครงการเสริมพลังเครือข่ายการเรียนรู้ระบบสุขภาพอำเภอ (DHS) ด้วยการจัดการความรู้ยุคใหม่ (KM 3.0) และการจัดการข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ
การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Learning for Change) ภายใต้แนวคิด การวางแผนใช้ KM ยกระดับการทำงานขององค์กร ต้องกำหนดเป้าหมายเฉพาะที่สำคัญยิ่ง ที่ส่งผลต่อเป้าหมายหลักขององค์กร ให้ชัดเจน และวัดผลได้ มีการกำหนดความรู้สำคัญยิ่งยวด (Critical Knowledge) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น โดยทำอย่างเป็นระบบภายใต้กรอบงาน KM (KM Framework ผู้เข้าร่วมประชุมฯ ประกอบด้วย ทีมแกนนำ DHS 3 พื้นที่นำร่อง (แก่งคอย/บางปะอิน/ภาชี) จำนวน 30 คน
ความคาดหวังต่อการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการฯ (BAR) ทีมแกนนำ DHS ได้เรียนรู้/เข้าใจกระบวนการ KM เสริมแรงใจในการนำยุทธศาสตร์/แผนงานที่คิดร่วมกันสู่การปฏิบัติในพื้นที่ให้บรรลุเป้าหมาย เพิ่มเติมทักษะเพื่อการดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพมากขึ้น เรียนรู้ระบบ IT / Application ที่มีประโยชน์ สามารถใช้ได้จริงและไม่เพิ่มภาระงานเจ้าหน้าที่ ปัญหาการใช้ Application ได้รับการแก้ไข ให้สามารถใช้ได้ไม่ติดขัด ไม่ยุ่งยากและประหยัดเวลา
สาระสำคัญจากการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ
1. การเรียนรู้ Change Management ภายใต้แนวคิด KM 4.0 โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ที่ชี้ให้เห็นการทำ Change อย่างเป็นระบบ เมื่อได้เป้าและยุทธศาสตร์ที่ชัดแล้ว
2. การเรียนรู้ Learning for Change จากเรื่องเล่า โครงการ Community-based Diabetes Prevention Program in Thai Population โดย ผศ.ดร.วัลลา ตันตโยทัย ที่ทำให้เห็นรูปแบบการสร้างกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้ให้บริการ เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้
3. การกำหนดเป้าหมายเฉพาะที่สำคัญยิ่ง ให้ชัดเจน และวัดผลได้ ทีมแกนนำ DHS ทั้ง 3 พื้นที่นำร่อง ได้ระดมความคิดเห็น ทบทวนเป้าหมายของ DHS และกำหนดเป้าหมายเฉพาะที่สำคัญยิ่งของ DHS ให้ชัดเจน และวัดผลได้ เพื่อวางแผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Learning for Change) ตามแนวคิด KM0 ดังนี้
1) DHS แก่งคอย
เป้าหมายหลัก : ชุมชนสามารถจัดการสุขภาพได้ด้วยตนเอง
เป้าหมายที่สำคัญยิ่ง : ลดการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงรายใหม่ ในประชากร 35 ปีขึ้นไป
สิ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลง
- ลดการเกิดโรคเบาหวาน จาก ร้อยละ 12 เหลือร้อยละ 6
- ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูง จาก ร้อยละ 25 เหลือร้อยละ 20
- พฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยสามารถลดระดับความเสี่ยงต่อโรค DM, HT ได้
- ทีมสุขภาพเปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลงการทำงานแบบใหม่ๆ
2) DHS บางปะอิน
เป้าหมายหลัก : ประชาชนใน อ.บางปะอิน มีสุขภาวะที่ดี สามารถดูแลตนเองได้
เป้าหมายที่สำคัญยิ่ง : ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถดูแลตนเองได้
สิ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลง
- พฤติกรรมสุขภาพ : อาหาร ออกกำลังกาย การใช้ยา การจัดการความเครียด การดูแลเท้า สุขภาพช่องปาก บุหรี่/สุรา
- ตัวชี้วัดทางคลินิก : HbA1C < 7 มากกว่า ร้อยละ 40
BMI ลดลงจากเดิม มากกว่า ร้อยละ 60
- ภาวะแทรกซ้อน (ตา ไต เท้า) ไม่เพิ่มขึ้น มากกว่า ร้อยละ 5
3) DHS ภาชี
เป้าหมายหลัก : ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง สามารถดูแลตนเองได้
เป้าหมายที่สำคัญยิ่ง : ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโ,หิตสูงที่มีไตวายระดับ 3 สามารถดูแลตนเองได้
สิ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลง
- กลุ่มเป้าหมายภาวะไตวาย stage 3 : ไม่เพิ่มขึ้นเป็น stage 4-5 ร้อยละ 100 ลดลง เป็น stage 2 ร้อยละ 5
- การเรียนรู้แนวคิดและวิธีการกำหนด Critical Knowledge เพื่อทำให้บรรลุเป้าหมาย ของ DHS ทีมแกนนำ DHS ได้ฝึกกำหนด Critical Knowledge เนื่องด้วยระยะเวลาจำกัด ทำให้ยังไม่สามารถวิเคราะห์ Critical Knowledge ที่กำหนดลงการปฏิบัติได้จริง
- สะท้อนการเรียนรู้ การทดลองใช้ Demo Application สำหรับเก็บข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ
ปัญหา/ อุปสรรค ที่พบ ดังนี้
1) หากมีเสียงรบกวนจากรอบข้าง ข้อมูลจะไม่แสดงบนหน้าจอโทรศัพท์
2) ข้อความที่แสดงบนหน้าจอโทรศัพท์ไม่ครบและไม่ตรงกับสิ่งที่ผู้ป่วยตอบ
3) การตอบคำถามโดยใช้ไมโครโฟนหากตอบไม่ชัด Application จะแปลงข้อความเพี้ยน
4) ระบบเข้าใช้ Application ไม่เสถียร เช่น ช่วงสภาพอากาศเปลี่ยน ฝนตก ไม่สามารถใช้ Application ได้
5) หากตอบคำถามสั้นเกินไป (ไม่ตอบวิธีการ, จำนวน, ความถี่) จะได้คำตอบไม่สมบูรณ์ ยากต่อการแนะนำ
6) ข้อมูลที่บันทึกถูกส่งออกไม่ครบถ้วน
7) ไม่เหมาะกับผู้ป่วยสูงอายุ ที่มีปัญหาเรื่องการได้ยิน
8) ตัวอักษรแสดงบนหน้าจอโทรศัพท์ เล็กเกินไป
9) ทักษะของผู้สัมภาษณ์ (ระยะเริ่มต้น) ยังไม่มีความชำนาญ เช่น การตั้งคำถาม การพิมพ์ข้อความบนโทรศัพท์, การใช้ปุ่มไมโครโฟน
10) ผู้ใช้โทรศัพท์ส่วนตัวมีความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์สัมภาษณ์ผู้ป่วย
ข้อเสนอแนะ
1) ผู้ถามต้องทวนคำตอบเอง หากข้อมูลคำตอบของผู้ป่วยไม่แสดงบนหน้าจอโทรศัพท์
2) การใช้ระบบ Application ไม่ควรยุ่งยากซับซ้อน ควรเข้าใจง่าย ใช้งานสะดวก รวดเร็ว
3) ระบบ Application ที่ได้ประโยชน์ สามารถตอบโจทย์การทำงาน และลดภาระการทำงานได้จริงๆ
4) ควรปรับรูปแบบดีไซน์ Application ให้น่าสนใจขึ้น
5) ผู้ใช้ Application ควรศึกษาและทดลองการใช้โทรศัพท์ให้ชำนาญ
6) ปรับชุดคำถามพฤติกรรมสุขภาพที่สั้น กระชับ ชัดเจน เข้าใจง่าย
7) ควรสนับสนุนโทรศัพท์ และค่าใช้จ่ายในการโทรสัมภาษณ์ผู้ป่วย
สิ่งที่ได้จากการประชุมเชิงปฎิบัติการฯ (AAR) ทีมแกนนำ DHS ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทำงานของ DHSแต่ละพื้นที่ ได้เรียนรู้ระบบการทำงานที่ดีต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีตัวชี้วัดที่ประเมินได้ ได้มุมมองในการมุ่งเป้าหมาย DHS KM ที่ชัดเจนขึ้น ได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม ได้วิธีการคิดที่ต่อยอดในการทำงานมากขึ้น
สิ่งที่ทีมแกนนำ DHS ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม ได้แก่ เทคนิคการใช้ KM ในการทำงานในพื้นที่จริง เทคนิค/วิธีการคิดแบบใหม่ๆ และกระบวนการเรียนรู้ที่เข้าใจง่าย
ข้อสังเกต/สะท้อนการเรียนรู้ จากทีม สคส.
การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ที่สำคัญเป็นอันดับต้น คือ ความเข้มแข็งของทีมแกนนำ DHS ที่ต้องสร้างการมีส่วนร่วมของคนทำงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายที่สำคัญขององค์กร ให้เปิดใจ และเปิดรับต่อการจัดการการเปลี่ยนแปลงในการทำงาน อาทิ การทำงานอย่างเป็นระบบภายใต้กรอบงาน KM (KM Framework) การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ภายใน DHS และระหว่าง DHS การกำหนด Critical Knowledge เพื่อการบรรลุเป้าหมาย การสื่อสารองค์กรให้ผู้บริหาร และผู้ร่วมงานเห็นคุณค่าของงาน ต่อองค์กร
เพื่อให้ทีมแกนนำ DHS สามารถขับเคลื่อนแผนงานตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ อย่างมีประสิทธิภาพ ทีม สคส. ได้วางแผนการ Coaching ทีมแกนนำ/ทีมทำงาน DHS ในแต่ละพื้นที่ ในการสร้างการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Learning for Change) อย่างต่อเนื่อง