เราจะรู้ได้อย่างไรว่า KM ถูกฝังสู่เนื้อในองค์กรอย่างสมบูรณ์แล้ว

เมื่อ KM ฝังสู่เนื้อในองค์กร จะเกิด…

Roles ครบบทบาท ครบหน่วยงาน
Owners ครบทุกจุดสำคัญ ทำหน้าที่ได้ดี
CoP ครบ ทำหน้าที่ได้ดี
KM Process : Use & Deliver values, Documentation
Lessons learned doc, re-use & value creation
KM Technologies : ใช้ได้ดี มีมาตรฐานสูง
Information Architecture
Policy : Clear expectation
KM Success stories มากมาย
Culture : Learning, Share, CQI
Metrics & Report System

ห่วงโซ่อุปทานความรู้ หรือ Critical Knowledge Cycle หน้าตาเป็นอย่างไร

ห่วงโซ่อุปทานความรู้ หรือ Critical Knowledge Cycle สำคัญยิ่งยวด โดยมีวงจรสำคัญดังภาพ

ในท้ายที่สุดการจัดการความรู้จะถูกฝังอยู่ในระบบงาน

การวัดและสื่อสาร จำเป็นสำหรับ KM 4.0 อย่างไร

การวัดและสื่อสาร เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ KM 4.0 อย่างยิ่ง เพราะจะทำให้รู้ว่าสิ่งที่เราตั้งเป้าไว้นั้นเป็นไปตามเป้าหรือไม่ โดยการวัดและสื่อสารก็ต้องประกอบด้วย

ตั้งเป้า benefit
สร้างวิธีวัด
สื่อสารผล
สร้างการยอมรับ พลังมวลชน พลังนโยบาย

KM 4.0 ที่ต้องทำอย่างเป็นขั้นตอนนั้น ต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

การทำ KM 4.0 อย่างเป็นขั้นตอน ต้องประกอบด้วย

ยุทธศาสตร์ (Strategy Phase)
วางแผน (Planning Phase)
ทดสอบ & โครงการนำร่อง (Testing & Pilot Phase)
ขยายผล (Roll-out Phase)
บูรณาการกับงานประจำ (Operational Phase)

การทำ KM 4.0 อย่างเป็นระบบ ต้องใช้เครื่องมืออะไรมาช่วยหรือไม่

การทำ KM 4.0 อย่างเป็นระบบ ต้องมีกรอบงาน KM หรือ KM Framework เข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยสร้างให้เป็นระบบ ซึ่งประกอบด้วย

คน ผู้แสดงบทบาทและรับผิดชอบ (roles)
กระบวนการที่ใช้ (process) ที่เป็นมาตรฐานกลาง
เทคโนโลยี เพื่อหนุนการ ลปรร. ครบวงจร   ใช้ร่วมกันทั้งองค์กร
กลไกกำกับดูแล (governance) : สร้างกติกา ข้อตกลง

การจับเป้าใน KM 4.0 ต้องทำอย่างไร

การจับเป้าใน KM 4.0 ต้องยึดกุมภาพใหญ่ ให้ครอบคลุม โดยเริ่มทำเพียงเล็กๆ แต่พุ่งเป้าไปที่ภารกิจหลักขององค์กร และจัดการ Critical Knowledge เพื่อผลสัมฤทธิ์ของภารกิจหลักนั้น

KM 4.0 ถือเป็นมิติใหม่ของการจัดการองค์กรเรียนรู้อย่างไร

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันว่า KM คือ

เครื่องมือเรียนรู้ร่วมกันจากการปฏิบัติ
เพื่อให้การทำงานมีการใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์และความรู้ของคนทุกระดับ
ในการบรรลุเป้าหมายที่กำหนด
ตัวช่วยพนักงาน ให้ทำงานได้ผลดีขึ้น

หรือ คือการจัดการให้ “ความรู้” ออกฤทธิ์ ส่งผลต่อความสำเร็จของงาน คนได้เรียนรู้ ได้ HRD องค์กรมีบรรยากาศที่ดี มีความเข้มแข็ง เป็นองค์กรเรียนรู้

โดย KM 4.0 มีแม่ยก

จับเป้า
ทำเป็นระบบ
ทำอย่างเป็นขั้นตอน
มีการวัดและสื่อสาร

Change Management

 

มาในยุคที่ก้าวเข้าสู่ Thailand 4.0 การจัดการความรู้ หรือ KM 4.0 ต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยนี้อย่างไร

KM 4.0 : เป็นการจัดการความรู้ที่ยกระดับจาก “ความรู้” (Knowledge) สู่ “คุณค่า” (Values) สู่การจัดการคุณค่า (Values Management) ที่กระทบหัวใจ และจิตใจของมนุษย์ และมีการดำเนินการอย่างเชื่อมโยงเป็นระบบ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง วิธีคิดและวิธีทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเชิงวัฒนธรรมขององค์กร (Change Management) จากวัฒนธรรมเน้นความสัมพันธ์แนวดิ่งเป็นเน้นความสัมพันธ์แนวราบ เพื่อใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์ของคนทั่วทั้งองค์กร โดยมีเป้าหมายโฟกัสที่ชัดเจนที่ธุรกรรมสำคัญขององค์กร โฟกัสความรู้ที่สำคัญยิ่งยวด (Critical Knowledge) มี กรอบงาน KM (KM Framework) ดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน โดยทำไปวัดผลและสื่อสารองค์กรไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีการตัดสินใจเชิงนโยบายในการลงทุนดำเนินการ KM อย่างคุ้มค่า (Return of Investment) จนในที่สุดฝังอยู่ในวัฒนธรรมองค์กร

การจัดการความรู้ ในยุคที่ 3 หรือ KM 3.0 ในยุคดิจิตอล เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างไร

KM 3.0 (Organization KM) : เป็นการจัดการความรู้เพื่อการบรรลุเป้าหมายหลักขององค์กรหรือโครงการที่ยังเน้นใช้ Human KM เปลี่ยนกระบวนทัศน์คน สร้างการเรียนรู้ให้อยู่ในวิถีชีวิตคนทำงาน/การใช้ชีวิตประจำวัน และใช้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ในยุคดิจิตอล สร้างเครื่องมือและระบบให้โอกาสคนได้เข้าถึงข้อมูล ความรู้ (Speed of Learning) และสร้างพื้นที่การเรียนรู้ (Space of Learning) เกิดการพัฒนาศักยภาพ ยกระดับองค์ความรู้ (Spiral of Learning)  ให้กับคนทำงาน หรือภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในสังคม โดยมีคำสำคัญ (keywords) ของ KM 3.0 คือ “อยู่ในวิถี มีเป้าหมาย ใช้ IT มียุทธศาสตร์และการจัดการ” ทั้งนี้ ทาง ม.สคส. อยากให้สังคมไทยได้ใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ ก่อเกิดพลังและสร้างคุณค่าอย่างถึงที่สุดให้กับองค์กร สังคม และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนในสังคม จึงพัฒนาโมเดลความคิดต่อ มาเป็น KM 4.0

การจัดการความรู้ หรือ KM 2.0 มีความแตกต่างจาก KM 1.0 อย่างไร

KM 2.0 (Human KM) : ยุคนี้เน้นการสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมการเรียนรู้ร่วมกัน (Share for Change) หรือมุ่งเน้นไปที่การปรับทัศนคติของ “คน” ให้เปิดใจเรียนรู้ ชื่นชมความรู้ปฏิบัติข้างในตัวคน (tacit knowledge) รวมถึงสร้างทักษะในการเล่าเรื่อง (Storytelling skill) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สามารถทำให้คนทำงานยินดีที่จะแบ่งปันความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติมาแลกเปลี่ยนกัน ในบรรยากาศที่ไว้วางใจอย่างไม่เป็นทางการ (Community of Practice) ทำให้ KM ในยุคนี้ เป็นการสร้างความรู้สึก และความสัมพันธ์ดี ๆ ขึ้นในกลุ่มคนทำงานขององค์กร แต่จุดอ่อนสำคัญ คือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้วไม่ค่อยมีพลังส่งถึงประโยชน์ขององค์กร จึงเป็นที่มาของการพัฒนา KM 3.0