ขอบฟ้าใหม่ในการจัดการความรู้

(Link เนื้อหาในหนังสือ) หนังสือ ขอบฟ้าใหม่ในการจัดการความรู้  เล่มนี้ รวบรวมและปรับปรุงจาก บล๊อก ชุด ขอบฟ้าใหม่ในเรื่องความรู้ (https://www.gotoknow.org/posts/tags/ขอบฟ้าใหม่ในเรื่องความรู้) ซึ่งตีความจากหนังสือ The New Edge in Knowledge เขียนโดย Carla O’ Dell & Cindy Hubert เน้นว่าเป็นการตีความและมีส่วนที่ผมโต้แย้งหรือต่อเติมบ้าง รวมทั้งไม่ได้เก็บรายละเอียดให้ครบถ้วน ผู้ที่สนใจเรื่องการจัดการความรู้จริงจังควรอ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษจะได้ความครบถ้วนมากกว่า ที่จริง “ขอบฟ้า” ของการจัดการความรู้ไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่มีลักษณะเหมือน “มีชีวิต” คืองอกงามเปลี่ยนแปลงได้ไม่รู้จบ เพราะการจัดการความรู้ คือเครื่องมือของการเรียนรู้จากการปฏิบัติ เรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมและเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) ผมจึงหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นแรงบันดาลใจ และเปิดช่องทางให้สังคมไทยได้ใช้พลังของการจัดการความรู้เพื่อเป็นพลวปัจจัยหนึ่งในการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน วิจารณ์  พานิช

KMI Thailand

ชีวิตที่พอเพียง

โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พาณิช

ประธานคณะกรรมการมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (ม.สคส.)

KM 4.0 Framework

กรอบงาน KM (KM Framework) เป็นกรอบการจัดการสำหรับ KM ที่ทีมริเริ่มดำเนินการ KM ออกแบบ ทดสอบ ดำเนินการนำร่อง และขยายผลกรอบงาน KM ช่วยให้เกิดความรอบคอบ ว่าได้ดำเนินการครอบคลุมทุกด้านของพลังหนุน KM อย่างครบถ้วน ไม่ตกหล่น ประกอบด้วยงาน 4 ส่วน ได้แก่ บทบาท, กระบวนการ, เทคโนโลยี และ การกำกับดูแล

การประกวดออกแบบสื่อภาพนิ่ง Infographic

สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส.) ขอเชิญร่วมประกวดออกแบบสื่อภาพนิ่ง Infographic ประกอบหนังสือ “ขอบฟ้าใหม่ในการจัดการความรู้” โดยมีเงื่อนไขการประกวด ดังนี้ 1. หนังสือเล่มนี้มีทั้งหมด 20 บท แต่ละบทจะประกอบด้วยภาพ infographic จานวน 1 ภาพ ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดสามารถส่งผลงานเข้าร่วมได้ทุกบท หรือบทใดบทหนึ่ง หรือหลายบท (ดูหัวข้อสารบัญได้ที่นี่) โดยอ่านและตีความเนื้อหาหนังสือได้จาก (ดาวน์โหลดเนื้อหาหนังสือ) 2. ผลงานของผู้เข้าประกวดต้องมาจากการสร้างสรรค์ของเจ้าของผลงาน และความคิดของผู้เข้าประกวดเอง ไม่ได้ลอกเลียนหรือดัดแปลงมาจากผู้อื่นโดยผู้ส่งประกวดต้องมีเอกสารลงนามรับรองว่าเป็นผลงานของตนทั้งสิ้น ไม่มีส่วนใดลอกเลียนมาจากแหล่งอื่น 3. ส่งผลงานในรูปแบบไฟล์นามสกุล .jpg, .psd, .และ .aiบันทึกลงในแผ่น CD หรือ DVD ความละเอียดอย่างน้อย 300 dpi 4. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดถือเป็นสิทธิ์ของ สคส.สามารถนาไปใช้ แก้ไขเพิ่มเติมดัดแปลง หรือจัดทาซ้า และเผยแพร่สู่สาธารณะได้โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น และไม่สามารถขอรับคืนไม่ว่ากรณีใดๆ เกณฑ์การตัดสินผลงาน 1. เนื้อหาในการนาเสนอ ถูกต้อง ครบถ้วน 2. แนวคิดตรงประเด็น สื่อความหมายชัดเจน เข้าใจง่าย…

ทำงานที่ไหน อย่างไรหรอ ?

นี่คือบทสนทนาที่เกิดขึ้นบ่อย จนชิน

เมื่อก่อน talkingwfriends

เพื่อน : ทำงานอะไรหรอ
ผู้เขียน : สคส.
เพื่อน : ???????????? คือ
ผู้เขียน : สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม

“Knowledge Facilitator” ผู้อำนวยการเรียนรู้ในองค์กร

แนวคิด    “คน”  เป็นหัวใจของความสำเร็จที่จะทำให้องค์กรเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีได้อย่างยั่งยืน หรือการจะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization: LO) ได้หรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับ “คนทำงาน” เป็นสำคัญ การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) ตามแนวคิด สคส. จึงมุ่งเน้นที่การจัดการเรียนรู้ของ “คน” ซึ่งถ้าคนในหน่วยงานหรือองค์กรเป็นบุคคลเรียนรู้  มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่สม่ำเสมอ มีการเรียนรู้ร่วมกันแบบรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เป็นชมรม หรือที่เรียกว่า ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice: CoP) คงไม่จำเป็นต้องมีคนกลางหรือคนที่เชื่อมคนเหล่านั้นให้มาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ระหว่างกัน    แต่หากหน่วยงานหรือองค์กรใดที่คนทำงานไม่เห็นคุณค่าของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หวงความรู้ของตนเอง  ไม่เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การทำงานเป็นทีมมีน้อย หน่วยงานหรือองค์กรนั้นคงยาก ที่จะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization: LO) แต่ถ้าหน่วยงานหรือองค์กรใดต้องการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรที่มีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา จุดสำคัญที่ควรจะเริ่มคือการค้นหาและฝึกให้มีคุณอำนวยการเรียนรู้ (Facilitator: FA) เพื่อเป็นคนกลางหรือคนที่คอยเชื่อมคนทำงานเข้าด้วยกัน จัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขึ้นในองค์กรอย่างสม่ำเสมอ ชักนำให้เกิด CoP ของคนทำงานเพื่อต่อยอดความรู้ไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด ถ้าองค์กรใดทำให้คนทำงานทุกคนเป็น FA ได้ ในที่สุดองค์กรนั้นคงจะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ไม่ยากนัก สิ่งที่จะได้เรียนรู้…

เส้นทางแห่ง KM มักจะพบกับ “ทางสองแพร่ง” ตลอดเวลา

เมื่อองค์กรใหม่เร่ิมทำความรู้จักกับ KM อาจจะเกิดคำถามตามมาอีกมากมาย และในที่สุดก็ไม่แน่ใจว่าท่านควรจะเลี้ยว เอ๊..หรือจะไปทางขวา เดินต่อไปข้างหน้า หรือจะหยุด ไม่ต้องกังวลกับความรู้สึกแบบนี้เพียงเดียวดาย