KMI History

สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส. หรือ KMI) ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 ในฐานะโครงการภายใต้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ดำเนินการขับเคลื่อนงานการจัดการความรู้ในสังคมไทย โดยมี ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช ที่ปรึกษาพิเศษของ สกว. (ในขณะนั้น) เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ สคส. ได้ศึกษาและพัฒนาศาสตร์ด้านการจัดการความรู้ผ่านโครงการนำร่องต่างๆ อาทิเช่น โครงการพัฒนาเครือข่ายการจัดการความรู้ในโรงพยาบาลภาคเหนือ ตอนล่าง โครงการส่งเสริมการจัดการความรู้การทำนาข้าวในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน (โดยมูลนิธิข้าวขวัญ) ฯลฯ ประสบการณ์ที่ได้รับทำให้ สคส. สามารถนำทฤษฎี การจัดการความรู้ของต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของไทย จนสามารถสร้างโมเดลการจัดการความรู้ และเครื่องมือ การจัดการความรู้ที่ใช้ได้ทั้งในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และในชุมชน ในวันที่ 19 ตุลาคม 2550 สคส. ได้รับการจดทะเบียนเป็นมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (ม.สคส.) ซึ่งถือเป็นการแปรเปลี่ยนรูปแบบ การทำงานในลักษณะโครงการไปสู่การเป็นองค์กรอิสระที่ดำเนินงานแบบ “กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)” คือบริหารองค์กรให้เลี้ยงตัวเองได้คล้ายกับ องค์กรภาคธุรกิจ หากแต่เป้าหมายไม่ได้อยู่ที่การมุ่งทำกำไรสูงสุด เป้าหมายหลักในการดำเนินงานยังคงเป็นไปเพื่อสร้างเสริมให้คนไทยได้พัฒนาศักยภาพ ในการเรียนรู้ ให้สามารถนำการจัดการความรู้ไปใช้ในชีวิตและในการทำงาน เรียกได้ว่าเป็นการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาตน…

Metanoic Organizations

  ความบังเอิญ มักนำมาซึ่งการเรียนรู้สิ่งใหม่เสมอ เช่นเดียวกับเรื่องนี้ ผมตั้งใจไปขอคำแนะนำจาก อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ในเรื่อง การพัฒนาหลักสูตร “การบริหารเครือข่าย” แต่ในระหว่างการสนทนา อาจารย์ชัยวัฒน์ ท่านแนะนำ บทความหนึ่งขึ้นมา ให้ผมลองไปอ่าน อาจารย์เขียนหัวข้อลงในสมุดของผม เพราะคงเห็นว่าผมคงไม่คุ้นกับชื่อมันแน่ๆ ซึ่งจริงๆ แล้วก็เป็นเช่นนั้น   ความบังเอิญ มักนำมาซึ่งการเรียนรู้สิ่งใหม่เสมอ   เช่นเดียวกับเรื่องนี้   ผมตั้งใจไปขอคำแนะนำจาก อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์  ในเรื่อง การพัฒนาหลักสูตร  “การบริหารเครือข่าย”   แต่ในระหว่างการสนทนา  อาจารย์ชัยวัฒน์ ท่านแนะนำ บทความหนึ่งขึ้นมา  ให้ผมลองไปอ่าน  อาจารย์เขียนหัวข้อลงในสมุดของผม  เพราะคงเห็นว่าผมคงไม่คุ้นกับชื่อมันแน่ๆ  ซึ่งจริงๆ แล้วก็เป็นเช่นนั้น ผมกลับมาและได้เล่าให้ที่ประชุมเพื่อนร่วมงานฟัง   หลายคนสนใจ   โดยเฉพาะ ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม  (สคส.)    ซึ่งไปค้นหาในอินเตอร์เน็ตก่อนใคร  และแนะนำ link ให้พวกเราด้วย      การอ่านเที่ยวแรกเข้าใจยากจริงๆ   จึงต้องอ่านเป็นเที่ยวที่สอง และบางคอลัมภ์ ก็ต้องอ่านซ้ำหลายเที่ยวเลยทีเดียว บทความนี้…

In House Workshop

เน้นการออกแบบการเรียนรู้สำหรับประเภทองค์กรแบบเฉพาะเจาะจง (Tailor-made) เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภายใต้การเรียนรู้ที่เน้นความเป็นกันเอง บรรยากาศสบายๆ ไม่เคร่งเครียด เป็นการเรียนรู้ร่วมกันทั้งจากวิทยากรและผู้เข้าร่วมเรียนรู้ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่ม ฝึกทดลองปฏิบัติ สะท้อนการเรียนรู้จากกิจกรรมและเรียนรู้จากกรณีศึกษาจากหลากหลายประเภทองค์กรที่นำการจัดการความรู้ไปปรับและประยุกต์ใช้จนประสบความสำเร็จ 

 

เป็นหลักสูตรที่สามารถจัดเพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย

ตั้งแต่ระดับผู้บริหารสูงสุด ระดับผู้บริหาร ระดับปฏิบัติการ ตลอดจนบุคลากรในองค์กรในทุกระดับ

สอบถามโทร. 02-511-5855 #123 #138  คุณปาริชาติ คงสนิท, คุณธนิษฐ์ฌา ไชยวรรณ
e-mail: [email protected], [email protected]

Public Course

เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรจากหลากหลายภาคส่วน เช่น ภาคเอกชน ราชการ องค์กรอิสระ มีความสนใจที่เรียนรู้ด้วยตนเอง ที่มาจากหลากหลายประเภทธุรกิจ เช่น การผลิต การบริการ การพานิช และอื่น ๆ เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือการจัดการความรู้ต่าง ๆ ด้านการจัดการความรู้หรือเพื่อเข้าสร้างเครื่อข่ายของสังคมแห่งการเรียนรู้ ก่อนนำไปเผยแพร่แนวคิด หลักการ และปรับประยุกต์เพื่อให้เหมาะกับวัฒนธรรมและบริบทของแต่ละองค์กร 

พบกับหลากหลายหลักสูตร……ของ สคส.

ที่เกี่ยวกับเครื่องมือการจัดการความรู้ที่เน้นการนำไปปรับใช้ได้จริง   

Consultation

บริการที่ปรึกษา

  • ด้านการนำการจัดการความรู้ไปใช้ในองค์กร
  • ด้านการถอดบทเรียน
  • ด้านการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ในองค์กร
  • ด้านการพัฒนาองค์กร (Organizational Development)

            สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)  ให้บริการผู้เชี่ยวชาญที่จะมาช่วยพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้แก่พนักงานที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย  ผ่านการเรียนรู้เบื้องต้น จาก workshop  นำสิ่งที่ได้เรียนรู้  ไปปรับใช้กับงานจริง และนำผลการปฏิบัติมาแลกเปลี่ยนรู้ระหว่างกัน  เพื่อนำไปปรับกลยุทธ์แนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมกับบริบทเฉพาะขององค์กร    

สนใจติดต่อนัดหมายหารือเบื้องต้นได้ที่  โทร. 02-511-5855 #123 #138 คุณปาริชาติ และคุณธนิษฐ์ฌา
Email: [email protected], [email protected]

ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง

การ เปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เราทุกคนคงยอมรับว่าไม่มียุคสมัยใดที่การเปลี่ยนแปลงจะรวดเร็วและมีผลกระทบ รุนแรงเท่าในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงได้สร้างหายนะให้กับองค์กรหลายแห่งไม่เว้นแม้กระทั้งองค์กร ที่เคยประสบความสำเร็จมาในอดีต

ความรู้ ปัญญา และการเรียนรู้

ปัญญา คืออะไร เราจะพัฒนาปัญญาให้เกิดขึ้นได้อย่างไร ในแวดวงการศึกษาผมมักจะได้ยินอาจารย์หลายท่านอธิบายคำว่าปัญญา ในความหมายที่ไม่ค่อยจะแตกต่างไปจากคำว่าความรู้เท่าใดนัก มีที่ละเอียดขึ้นหน่อย ก็อธิบายในทำนองที่ว่า ปัญญา คือ ความสามารถในการใช้ความรู้

บทบาทของผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้

สคส. เรียกผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้ว่า “คุณอำนวย” โนนากะ เรียกว่า Knowledge Activist และยังมีผู้นิยมใช้อีกคำหนึ่งคือ Knowledge Broker