โครงการเสริมพลังเครือข่ายการเรียนรู้ระบบสุขภาพอำเภอ (District Health System/DHS) ด้วยการจัดการความรู้ยุคใหม่ (KM 3.0) และการจัดการข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ
แนวคิดของโครงการ
โครงการนี้เป็นปีแรกของโครงการที่ต้องใช้เวลาดำเนินการ 3 ปี เพื่อเสริมพลังการเรียนรู้ใน ระบบสุขภาพอำเภอ(DHS) โดยใช้ KM 3.0 หนุนเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างผู้รับบริการกับผู้ให้บริการสุขภาพใน DHS และเครือข่ายเรียนรู้ข้ามอำเภอ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดการสุขภาพร่วมกัน โดยเริ่มต้นที่ผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เสริมด้วยเทคโนโลยี IT โดยจะริเริ่มนำ Big Data มาวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมของผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง แล้วส่งเข้าระบบข้อมูล DHS ของพื้นที่ ผล/ข้อมูลที่ได้จากการประมวลจะเป็นข้อมูล support ให้ทีม DHS แต่ละพื้นที่ นำไปประกอบกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิธีการดูแลผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์โครงการ
- สร้างต้นแบบระบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติด้านการจัดการสุขภาพใน DHS จนเกิดเครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) ระหว่างผู้รับและผู้ให้บริการสุขภาพที่แข็งแรงขึ้นในแต่ละ DHS พื้นที่นำร่องก่อผลต่อการควบคุมโรคเรื้อรังได้ดีขึ้นอย่างเห็นผล เกิดการเชื่อมโยงการเรียนรู้ระหว่าง 3 DHS พื้นที่นำร่องที่จะเอื้อต่อการขยายผลสู่อีกหลายร้อย DHS
- ริเริ่มเครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) ในมิติใหม่ ที่มี Big Data Analysis หนุน โดยการนำข้อมูลพฤติกรรมของผู้ป่วย (Behavioral Big Data) เข้าสู่ระบบข้อมูลดิจิตอลแล้วใช้เครื่องมือ Big Data วิเคราะห์ป้อนผล (Feedback) กลับเข้าไปใน Learning Network เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วย (ที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง)
แนวทางการดำเนินงานโครงการ
- ค้นหาและศึกษาข้อมูล ลงพื้นที่จับภาพDHS พื้นที่นำร่อง ที่มีลักษณะหรือความพร้อมที่จะทดลองใช้ KM 3.0 พัฒนาการเรียนรู้และการทำงานของDHS
- สนับสนุนให้ DHS พื้นที่นำร่อง จัดทำแผนและดำเนินการใช้ KM 3.0 เพื่อพัฒนาการทำงานตอบโจทย์การสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ตนเอง
- ร่วมมือกับ ICT Strategic Partner พัฒนา วิธีการส่งข้อมูลเชิงพฤติกรรมโดยใช้ Big Data technology มาจัดเก็บและประมวลข้อมูลสำคัญๆ ที่โยงกับสุขภาพหรือสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่
ผลลัพธ์ที่คาดหวังของโครงการ (Outcome)
- เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ภายใน DHS พื้นที่นำร่องเพื่อพัฒนาการทำงาน อย่างเชื่อมโยงและเป็นระบบ เพื่อดูแลสุขภาพของคนในชุมชน/พื้นที่อำเภอ (เริ่มต้นจากกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง)
- ได้ต้นแบบระบบและเครื่องมือเชื่อมข้อมูลสุขภาพ และข้อมูลพฤติกรรมส่วนบุคคล ไปสู่ระบบ DHS เพื่อให้ผู้ให้บริการสุขภาพในพื้นที่ สามารถบริหารจัดการ หาวิธีให้บริการดูแลสุขภาพประชาชน(กลุ่มเป้าหมาย)ในพื้นที่ได้เป็นรายบุคคล (Personal Health Care)
- ได้ต้นแบบ Learning Network ระหว่าง 3 DHS พื้นที่นำร่อง จากการพัฒนาและใช้ Big Data technology และ Learning process เข้าไปหนุนการทำงานของแต่ละพื้นที่นำร่อง เพื่อดูแลสุขภาพคนในชุมชน
ภาพกิจกรรม
ศึกษาดูงาน DHS ในพื้นที่ จ.สระบุรี และ จ.พระนครศรีอยุธยา
Heterospory is the rule https://domyhomework.guru/ among seed plants